Mobile Banking กับ Social Banking แตกต่างกันอย่างไร?

ธุรกิจ - การลงทุน

ในอดีต ชีวิตประจำวันของเรา จะใช้จ่ายค่าสินค้าบริการด้วยเงินสด ที่เรียกภาษาทางการซึ่งรู้จักเป็นสากลว่าเงิน Fiat หากต้องการทำธุรกรรมในจำนวนเงินมากๆ ก็จะใช้บริการจากสถาบันการเงินหรือธนาคารเป็นหลัก

เมื่อยุคสมัยพัฒนาสู่ดิจิตอล และสังคมออนไลน์เติบโตขึ้น ระบบการเงินก็ถูกพัฒนาขึ้นเป็น Mobile Banking ที่ให้ผู้บริโภคใช้เงินผ่านมือถือสมาร์ทโฟนได้โดยสะดวก ไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมาก หรือเดินทางไปทำธุรกรรมที่ธนาคารอีกต่อไป แถมยังมีความรวดเร็ว สะดวก และง่ายต่อชีวิตประจำวัน

ปัจจุบัน รูปแบบการทำธุรกรรมเริ่มพัฒนาเข้าสู่ยุคดิจิตอลแบบ 5G ที่ส่งผลให้สังคมก้าวกระโดด จนเกิดรูปแบบ Social Banking ขึ้น ซึ่งจะก้าวเข้ามามีอิทธิพลในชีวิตประจำวันของทุกคนในไม่ช้านี้

แล้ว Mobile Banking กับ Social banking แตกต่างกันอย่างไร?

Mobile Banking คือ การให้บริการธุรกรรมทางการเงินออนไลน์โดยสถาบันการเงินธนาคาร ที่พัฒนาจากการให้บริการธรรมดา เข้าสู่ระบบออนไลน์ ลูกค้าสามารถฝาก ถอน โอน จ่าย ได้ผ่านมือถือสมาร์ทโฟนและอินเตอร์เน็ต เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น

Social Banking คือ การให้บริการธุรกรรมทางการเงินแบบสกุลเงินดิจิตอล Cryptocurrency ในโลกยุคใหม่ ผ่านระบบออนไลน์โดยเอกชนที่สร้างแพลตฟอร์มธุรกิจด้วยเทคโนโลยี ใช้จ่ายผ่านกระเป๋าเงิน E-Wallet เพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าบริการได้เหมือนกัน ในธรรมเนียมที่ต่ำกว่าหรือฟรี ผ่านมือถือสมาร์ทโฟนและอินเตอร์เน็ต โดยมักผูกบริการต่างๆ ที่จำเป็นในชีวิตประจำวันไว้ในแอพพลิเคชันอย่างครบครัน ลูกค้าจึงสามารถเลือกใช้บริการได้ครบถ้วน หลากหลาย สะดวก ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในโลกยุคใหม่มากยิ่งขึ้น

ในปัจจุบัน ทั้งสองรูปแบบธุรกรรม กำลังเดินทางเสมือนแข่งขันกันในใจผู้บริโภค ซึ่งจุดแข็งที่ Mobile Banking มี นั่นก็คือ Trust หรือความเชื่อถือไว้วางใจที่ลูกค้ามีให้ต่อธนาคาร เพียงแต่ธนาคารยังต้องพัฒนาศักยภาพของเทคโนโลยีให้ตอบโจทย์คนยุคนี้ให้มากยิ่งขึ้น ในขณะที่ Social Banking นั้นแม้จะใหม่ในด้านการสร้าง Trust แต่ก็มีจุดแข็งในความสามารถตีโจทย์ความต้องการ หรือ Demand ของผู้บริโภคได้อย่างสอดคล้องความเป็นจริงแห่งยุคได้มากยิ่งกว่า ทำให้สามารถแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดออกไปได้มากและถือว่าประสบความสำเร็จ จะรอก็เพียงแต่การสะสม Trust ได้มากพอจะแซงหน้าธนาคารในสักวันนั่นเอง

สิ่งที่นักธุรกิจต้องปรับตัว นั่นก็คือ การปรับรูปแบบการให้บริการที่ต้องตอบโจทย์และสอดคล้องผู้บริโภค โดยในปี 2020 ที่จะถึงนี้ สถานการณ์ของทั้งเมืองไทยและทั่วโลก ยังไม่อาจมีตัวชี้วัดตัดสินได้ 100 เปอร์เซ็นต์ว่า อะไรจะเหนือกว่าอะไร องค์กรจึงต้องเตรียมพร้อมรองรับแพลตฟอร์มทั้งสองอย่าง เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคได้ทันท่วงที โดยอาจระมัดระวังการลงทุนในปัจจัยรองรับ ให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด เพื่อรอเวลาตัดสินว่า อะไรจะครองอันดับ 1 เป็นสิ่งที่รุ่งหรือร่วงในโลกอนาคต ซึ่งอาจได้คำตอบแน่ชัดในปลายปี 2020 ที่จะถึงนี้