“ฮาร์วาร์ด” แนะไทยมีธุรกิจเรือธง – ชี้ “โลตัส” คือประตูพาเอสเอ็มอีสู่เอเชีย

เรื่องที่น่าสนใจล่าสุด

(17 พ.ย.63) การแข่งขันในยุคโลกาภิวัตน์ทุกประเทศ ควรมี National Champions เพื่อเเข่งขันข้ามชาติ ในกรณีซีพีเข้าซื้อเทสโก้โลตัสกลับจากสหราชอาณาจักรนั้น ซีพี โลตัสสามารถ เป็นเรือธงให้ประเทศไทยแข่งกับต่างชาติ National Champion และนำสินค้าไทย ก้าวไกลไปทั่วโลก

โลตัสของกลุ่มซีพีมีที่ไทย มาเลเซีย จีน ครอบคลุม ประชากร 1,500 ล้านคน และจะขยายต่อยอดออกไปที่เวียดนามและอินเดีย จะทำให้มีฐานตลาดถึง 3,000 ล้านคน นั่นคือ วิสัยทัศน์ของเครือซีพีนอกจากนี้ด้านความยั่งยืน ศุภชัย เจียรวนนท์ ซีอีโอเครือซีพี ได้มีการตั้งเป้าหมายด้านความยั่งยืนให้กับทุกบริษัทในเครือ เพื่อลงมือทำ ติดตามผล ทำรายงานสาธารณะDJSIเพื่อรายงานความคืบหน้าเเละผลสัมฤทธิ์ และแน่นอนว่า โลตัสจะดำเนินทิศทางด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

Harvard Business School ได้ศึกษาธุรกิจของเครือซีพี และเขียนเรื่องราวเป็นกรณีศึกษาไว้ โดยฮาร์วาร์ดวิเคราะห์ว่า ความเสี่ยงอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ ปัญหาสภาพแวดล้อมพื้นฐาน เช่น ปัญหาความยากจนที่คนส่วนใหญ่ยังเรื้อรัง ปัญหาหนี้สิน คนส่วนใหญ่รากฐานมาจากการเกษตรแต่ยังเป็นขั้นพื้นฐาน หากเป็นภาคการผลิตก็ใช้เทคโนโลยีต่างประเทศ ส่วนด้านบุคลากร ยังประสบปัญหาเรื่องด้านการศึกษา ทั้งหมดนี้ทำให้การทำธุรกิจในภูมิภาคนี้ ต้องคำนึงถึงปัจจัยทางด้านสังคมควบคู่ไปด้วย

ดังนั้น ประเทศไทยต้องมีองค์กรขนาดใหญ่เพื่อแข่งกับระดับโลกได้ เช่น เกาหลีใต้มีซัมซุง แอลจี ฮุนได ญี่ปุ่นมีโตโยต้า ฮอนด้า และจีนมีหัวเว่ย อาลีบาบา เพื่อเป็นผู้เล่นระดับโลกไปเปิดตลาดต่างประเทศ หากไม่มีผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีขนาดเพียงพอที่จะไปต่อรองในตลาดโลกและพารายเล็กไปขยายตลาด ก็ยากที่รายเล็กจะอยู่รอด เพราะในปัจจุบันไทยไม่ออกไปบุกตลาดโลก ตลาดโลกก็มาบุกประเทศไทย

ด้วยมิติที่มองเพียงแค่ตลาดไทย ทำให้คนมักเห็นซีพีในวันที่สำเร็จแล้ว บริษัทใหญ่ กินรวบ ผูกขาด แต่จริงๆแล้วยุคนี้ กินรวบผูกขาดเป็นไปไม่ได้ เพราะเป็นยุคของการแข่งขัน คุณธนินท์มักพูดว่า ปลาเร็ว กินปลาช้า ไม่ใช่ปลาใหญ่กินปลาเล็ก ดังนั้นใครปรับตัวไม่ได้ก็อยู่ไม่ได้ ใหญ่แค่ไหนก็ไม่รอด หากปรับตัวไม่ทัน เช่นกรณี ห้างวอลมาร์ทห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ยังประกาศปิดสาขา269แห่งทั่วโลกหลังประสบปัญหายอดขายตกเนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคหันไปซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกออนไลน์อย่างอะเมซอน เป็นต้น แต่หากมองในมิติโลกาภิวัตน์ จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยแทบจะไม่เคยตั้งคำถามกับบริษัทต่างชาติว่า บริษัทจากต่างประเทศที่เข้ามาผูกขาด ทำกิจการในประเทศไทยแบบไม่จดทะเบียน โดยแทบไม่จ่ายภาษีเลย หรือจ่ายน้อยมาก

จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยงบการเงินปี 2559 ระบุว่าบริษัท กูเกิล (ประเทศไทย) จำกัด แจ้งรายได้รวม 535.34 ล้านบาท กำไรสุทธิ 19.87 ล้านบาท และมีการชำระภาษีเงินได้ 20.25 ล้านบาท, บริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน Line,LineTV,LineMusicและอื่น ๆ แจ้งรายได้รวม 137.80 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 211.61 ล้านบาททำให้ไม่ต้องเสียภาษี นอกจากนี้บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่เป็นเจ้าของแอปพลิเคชัน WeChat, Jooxและสนุกดอทคอม แจ้งรายได้รวม 412.30 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 156.27 ล้านบาท ไม่เสียภาษีเนื่องจากขาดทุน แต่สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) หรือ The Digital Advertising Association of Thailand (DAAT) ชี้ว่า มีเม็ดเงินโฆษณาดิจิทัล กว่า 19,600 ล้านบาทในประเทศไทย ในปี 2563 ที่แทบไม่จ่ายภาษีให้กับประเทศไทยเลย

ฮาร์วาร์ด ได้ทำการศึกษากรณีของซีพี โดยมองว่า เครือซีพีก็เหมือนกับบริษัททั่วไปที่มีความเสี่ยงมากมาย เช่น เมื่อ 20 ปีก่อน เครือซีพีเจ็บตัวไปไม่น้อย เมื่อรัฐบาลประกาศลดค่าเงินบาทในปี 2540 จำใจต้องดึงยักษ์ค้าปลีกจากอังกฤษอย่างเทสโก้ เข้ามาร่วมทุนในโลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ต้องขายหุ้นห้างค้าส่ง “แม็คโคร”ออกไปให้บริษัทแม่เชื้อสายดัตช์ ลดสัดส่วนถือครองจาก 30% เหลือ 13.4% ก่อน มาซื้อคืนทั้งหมด แม้แต่ธุรกิจโทรคมนาคมในขณะนั้น ต้องเป็นหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ 16 ปีผ่านไป เครือเจริญโภคภัณฑ์ สามารถฟื้นกลับมาได้ และมีความแข็งแกร่งมากขึ้น ด้วยแนวทางที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง คือ ไม่ทำอะไรเกินตัว ประเมินความเสี่ยง และทำธุรกิจแบบ Inclusive คือ ทุกคนได้ประโยชน์

ที่สำคัญ คือ มุมมองแบบโลกาภิวัตน์ คำว่าโลกาภิวัตน์เพิ่งจะมีบัญญัติกันไม่กี่สิบปี แต่ซีพีใช้แนวทางนี้มานานมากแล้ว เพียงแต่ใช้วลีที่ว่า ซีพีต้องออกไปบุกตลาดทั่วโลก และตอนนี้พาธงชาติไทยไปอยู่ตั้งอยู่ในสำนักงานและโรงงานกว่า 22 ประเทศทั่วโลก ขณะที่ตลาดค้าปลีกค้าส่ง ก็ไปบุกอาเซียน อินเดีย จีน และอีกหลายประเทศทั่วโลก ทำให้เป็นประตูสำหรับผู้ประกอบการไทยสู่ตลาดภูมิภาค

แทนที่จะมองว่า ซีพีใหญ่เกินไปหรือไม่ หากใช้มุมมองโลกาภิวัตน์ จะเห็นได้ว่า ซีพียังเล็กกว่าผู้เล่นขนาดใหญ่ระดับโลกหลายสิบเท่า หรือเรียกได้ว่าเป็นน้องเล็กในตลาดโลก เพียงแต่มีขนาดที่ทั่วโลกมองเห็นว่าเป็นผู้เล่นในระดับอินเตอร์ ดังนั้น ธุรกิจไทยต้องบุกไปตลาดโลก ก่อนผู้เล่นระดับโลกมาบุกตลาดไทย การร่วมมือกัน รวมกลุ่มกันแบบพี่ช่วยน้องของธุรกิจไทย จะทำให้ธุรกิจไทยมองตลาดแบบโลกาภิวัตน์และกล้าเดินหน้าไปทำตลาดที่ต่างประเทศ ขณะที่โลตัสถือเป็นแพลตฟอร์มค้าปลีกที่ได้กลับมาจากสหราชอาณาจักร สู่มือคนไทย อยู่ที่จะใช้ประโยชน์นี้คุ้มค่าแค่ไหน กับการเป็นประตูสู่ภูมิภาคต่อไป

เครดิต https://www.innnews.co.th/pr-marketing/news_821540/